สร้างจากความฝัน ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจและแบ่งปันสิ่งดีๆให้แก่กัน

ประวัติมหาวิทยาลัยต่างๆ(เรียงตามลำดับต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัย)

ประวัติมหาวิทยาลัยต่างๆ(เรียงตามลำดับต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัย)

พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น(มหาวิทยาลัยมหิดล)

พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

พ.ศ. ๒๔๖๐ ถือกำเนิดโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรม(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

พ.ศ. ๒๔๖๐ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้น เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง”( มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้ถือกำเนิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง (มธก.)โดยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ์)

พ.ศ. ๒๔๘๖ โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร(มหาวิทยาลัยศิลปากร)

พ.ศ. ๒๔๙๒ จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถือกำเนิดขึ้นจากการผลักดันของ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งท่านเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ)

พ.ศ. ๒๔๙๘ จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา(มหาวิทยาลัยบูรพ า)

พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ก่อตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เทคนิคไทย – เยอรมัน”(สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)

พ.ศ.๒๕๐๓ ก่อตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

พ.ศ.๒๕๐x ก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร ี)

พ.ศ.๒๕๐๓ รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มหาวิทยาลัยเชียงใหม ่)

พ.ศ.๒๕๐๕ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เสนอ ชื่อ สถาบันแห่งนี้ว่าสถาบันเทคนิคขอนแก่น และเสนอชื่อเป็นภาษา อังกฤษว่า KhonKaen Instituteof Technologyมีชื่อย่อว่า K.I.T. ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็นมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

พ.ศ.๒๕๑๐ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

พ.ศ.๒๕๑๐ ได้จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา(มหาวิทยาลัยนเรศวร)

พ.ศ.๒๕๑๑ ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา(มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

พ.ศ.๒๕๑๑ จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา(มหาวิทยาลัยทักษิณ)

พ.ศ.๒๕๒๒ ส.ส.นครศรีธรรมราชเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช(มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

พ.ศ.๒๕๒๗ ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอให้ รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ในส่วนภูมิภาค ๕ แห่งโดยวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ใช้ชื่อว่า “ วิทยาลัยสุรนารี “(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)

พ.ศ.๒๕๓๐ ได้จัดตั้ง วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

พ.ศ.๒๕๔๐ คณะกรรมการกลั่นกรองงานฝ่ายสังคมของรัฐบาลในสมัยที่ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี มอบให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยใหม่(มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ

มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ.๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น
๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า “โรงเรียนแพทยากร”
๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกโรงเรียนแพทย์ และพระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย
๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๐ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็น “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๖ ได้สถาปนาโรงเรียนราชแพทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อยู่ในสังกัดกระทรวงการสาธารณสุข
๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เรียกว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล”

อ่านลายละเอียดต่อได้ที่นี้

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล / ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ประวัตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ประวัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น / ประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน
๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก”
๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เป็น “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” และโอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ
๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ รวมโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็น “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๕ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอุดลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมมหาวิทยาลัย กระทรวงธรรมการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยและเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่ขึ้นกับกระทรวงนี้
พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับโอนกิจการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ.๒๔๖๐ ถือกำเนิดมาจากโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรม ต่อมาได้ขยายและยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๖ ก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรทางการเกษตร แห่งแรกของประเทศไทย
พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับโอนกิจการคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล / ประวัติมหาวิทยาลัยแม่โจ

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

พ.ศ.๒๔๖๐ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้น เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง”
พ.ศ.๒๔๗๗ กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ
พ.ศ.๒๔๗๙ กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง “โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือขึ้น”
พ.ศ.๒๔๘๒ กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นที่เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ
พ.ศ.๒๔๘๖ เปลี่ยนเป็น “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ทั้งนี้เพราะวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขน ได้รับการสถาปนาเป้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ.๒๔๙๑ กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการให้แก่กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและเปลี่ยนเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้”
พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับการ “ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่”
พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับการสถาปนาเป็น “สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร”
พ.ศ.๒๕๒๕ เปลี่ยนชื่อจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรเป็น”สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้” และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๗ ได้ถือกำเนิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง (มธก.)โดยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น) โดยปรัชญาของการตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้เป็นตลาดวิชา และเป็น มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย
๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘ ตั้งมหาวิทยาลัย ครั้งแรกใช้ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิมที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา
พ.ศ.๒๔๘๑ มหาวิทยาลัยตั้งโรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตร ๒ ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อ ที่มหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง
๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ คณะรัฐประหาร ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมือง และการ ปกครองของคณะรัฐประหาร ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบ และถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า “การเมือง” ออก เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / ประวัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยศิลปากร

ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร โดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียนซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศ ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยเปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้น โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๖ โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากรได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ

พ.ศ.๒๔๙๒ จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถือกำเนิดขึ้นจากการผลักดันของ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งท่านเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๗ เริ่มการสถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นแทนโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง พร้อมกับจัดระบบการศึกษาแบบวิทยาเขต โดยขยายวิทยาเขตปทุมวัน(๒๔๙๘) วิทยาเขตบางแสน(๒๔๙๘) วิทยาเขตพิษณุโลก(๒๕๑๐) วิทยาเขตมหาสารคาม(๒๕๑๑) วิทยาเขตสงขลา(๒๕๑๑) วิทยาเขตบางเขน(๒๕๑๒) และวิทยาเขตพลศึกษา(๒๕๑๓) โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหาร
๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๗ ได้สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ / ประวัติมหาวิทยาลัยบูรพา / ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร / ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม / ประวัติมหาวิทยาลัยทักษิณ

มหาวิทยาลัยบูรพา

๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๘ จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน
พ.ศ.๒๕๑๗ ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน
๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยบูรพา / ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ / ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร / ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม / ประวัติมหาวิทยาลัยทักษิณ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๒ รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ก่อตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เทคนิคไทย–เยอรมัน”
พ.ศ.๒๕๐๗ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนพระนครเหนือขึ้นเป็น “วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ”
พ.ศ.๒๕๑๔ ได้มีการรวมวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรีและวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี จัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า”สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า”สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๙ มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือพ.ศ.๒๕๒๘ กำหนดให้แต่ละวิทยาเขตแยกเป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสระ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานทางการศึกษาของแต่ละสถาบันให้มีฐานะเป็นกรมเทียบเท่ามหาวิทยาลัยทั้ง ๓ แห่ง โดยวิทยาเขตพระนครเหนือใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ”

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ / ประวัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง / ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ.๒๕๐๓ ก่อตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๐๗ ศูนร์ฝึกโทรคมนนทบุรี ได้ปรับฐานะเป็นวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๐๘ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรีเป็นวิทยาเขตนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๑๔ ได้มีการรวมวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือและวิทยาลัยเทคนิคธนบุรีจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า”สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า”สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๑๔ ย้ายมาอยู่ที่อำเภอลาดกระบัง และเปลี่ยนชื่อ เป็นวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ.๒๕๒๘ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ.๒๕๒๘ และมีชื่อเต็มว่า “สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “พระจอมเกล้าลาดกระบัง”

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง / ประวัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ / ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นับย้อนไปเมื่อ ๔๐ ปีก่อน ได้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๑๔ ได้มีการรวมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือและวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี จัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า”สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า”สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙ คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการร่าง พรบ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี / ประวัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ / ประวัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๐๓ รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ
พ.ศ.๒๕๐๘ ได้รับโอนกิจการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาเป็นคณะแพทยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พ.ศ.๒๕๐๕ ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เสนอ ชื่อ สถาบันแห่งนี้ว่าสถาบันเทคนิคขอนแก่น และเสนอชื่อเป็นภาษา อังกฤษว่า KhonKaen Instituteof Technologyมีชื่อย่อว่า K.I.T. ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็นมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ.๒๕๐๗ สำนักงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯได้รับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรุ่นแรก จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๗ คน โดยแยกเป็นนักศึกษาเกษตรศาสตร์ ๔๙ คน และวิศวกรรมศาสตร์ ๕๘ คนโดยฝากเรียน ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ.๒๕๐๘ คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัตมหาวิทยาลัยขอนแก่น และประกาศในราชกิจจานุเบกษาสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น / ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล / ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี / ประวัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พ.ศ.๒๕๑๐ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์ในระยะแรกเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้และยกระดับมาตรฐานการศึกษาสู่ท้องถิ่น

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ / ประวัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยนเรศวร

๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๐ ได้จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา
๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๗ วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๗ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตราพระราชบัญญัติรับหลักการที่จะยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ขึ้นเป็น
๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่นี้ว่า “มหาวิทยาลัยนเรศวร”

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร / ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ / ประวัติมหาวิทยาลัยบูรพา / ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม / ประวัติมหาวิทยาลัยทักษิณ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๑ ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม
พ.ศ.๒๕๑๗ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม
๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ “มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม / ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ / ประวัติมหาวิทยาลัยบูรพา / ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร / ประวัติมหาวิทยาลัยทักษิณ

มหาวิทยาลัยทักษิณ

๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๑ จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลาขึ้น
๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๗ วิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา
๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๙ ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ มีชื่อว่า “มหาวิทยาลัยทักษิณ”

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยทักษิณ / ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ / ประวัติมหาวิทยาลัยบูรพา / ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร / ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

พ.ศ.๒๕๒๒ ส.ส.นครศรีธรรมราชเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๑ คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศต่อไป
๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ คณะรัฐมนตรียกเลิกมติเดิมและอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานชื่อว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ”
๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕ และมหาวิทยาลัยถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / ประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พ.ศ.๒๕๒๗ ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอให้ รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ในส่วนภูมิภาค ๕ แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ๑ แห่ง ภาคใต้ ๑ แห่ง ภาคตะวันออก ๑ แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ แห่ง ในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้จัดตั้งวิทยาลัยในสังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดนครราชสีมา โดยวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ใช้ชื่อว่า “ วิทยาลัยสุรนารี ”
๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พระราชบัญญัติดังกล่าว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี / ประวัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น / ประวัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พ.ศ.๒๕๓๐ ได้จัดตั้ง วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ รัฐบาลได้มีมติยกฐานะวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นลำดับที่ ๑๙ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ.๒๕๓๓

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี / ประวัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น / ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนาร

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ คณะกรรมการกลั่นกรองงานฝ่ายสังคมของรัฐบาลในสมัยที่ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี มอบให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยใหม่
๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้น
๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พิธีเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยอื่นๆ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ.๒๕๑๔ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐโดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.๒๕๑๔ กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือก

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง / ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๙ แห่ง

๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” ได้ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาและ มีผลบังคับใช้เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง
๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

อ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิงจาก

ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๙ แห่ง

semenax semenaxcaps.com